วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หนังสือพิมพ์ = อิทธิพลต่อสังคม






               คุณผู้อ่านสังเกตไหมคะว่าในการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั้น เราได้อ่านหรือเห็นสิ่งพิมพ์ในแต่ละวันมากน้อยเพียงใด.. . โดยเฉพาะ "หนังสือพิมพ์"

               ดิฉันเชื่อว่าไม่มีใครไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ ลองย้อนกลับไปคิดดูซิคะว่า ในแต่ละวันไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็สามารถหาอ่านหนังสือพิมพ์ได้อย่างง่ายดาย หาซื้อได้ในราคาไม่แพง บ้างก็มีแจกฟรี เรียกได้ว่าหนังสือพิมพ์อยู่รอบๆ ตัวเราเลยล่ะค่ะ





               หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่ผลิตแบบรายวัน ผู้อ่านสามารถอ่านข่าวได้วันต่อวัน ถือเป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่งที่แผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ ความคิด และความบันเทิงไปสู่ประชาชน ในปัจจุบันหนังสือพิมพ์ก็มีหลากหลายให้ผู้อ่านได้เลือกซื้อ หนังสือพิมพ์ที่ดีมีคุณภาพก็สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้นได้ แต่หนังสือพิมพ์ที่ไร้คุณภาพก็จะฉุดประชาชนและสังคมให้ต่ำลงได้ เพราะหนังสือพิมพ์สามารถที่จะปลุกระดม แทรกซึม โน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เจตคติ และพฤติกรรมของประชาชนได้ ถือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากเลยทีเดียว

               ข่าวในหนังสือพิมพ์ที่ดิฉันคิดว่ามีอิทธิพลต่อสังคม ดิฉันขอยกตัวอย่างข่าวนี้ค่ะ

     รวบ2โจ๋แสบ!พิมพ์แบงค์ปลอมขายย่านบางขุนเทียน

แบงค์ปลอมระบาด! ร้านค้าซวยเพียบ


               ข่าวนี้หนังสือพิมพ์ได้นำเสนอข่าวว่าได้มีธนบัตรปลอมระบาด ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคนร้ายนำแบงค์ปลอม ซื้อสินค้าในช่วงเวลาเร่งด่วน และมีผู้คนจับจ่ายใช้สอยจำนวนมาก

               ก่อนที่จะมีการนำเสนอข่าวนี้ ประชาชนทั่วไปหรือแม่ค้าโดยปกติแล้วก็ใช้เงินซื้อสินค้า จับจ่ายใช้สอยตามปกติ ไม่ค่อยมีใครมาตรวจดูก่อนว่าเงินนั้นจะเป็นแบงค์ปลอมหรือไม่ แต่เมื่อหนังสือพิมพ์นำเสนอข่าวนี้กันแทบทุกฉบับ ทำให้ประชาชน โดยเฉพาะแม่ค้าตื่นตระหนก เพราะกลัวว่าเงินที่ตนเองได้รับมานั้นจะเป็นแบงค์ปลอม จึงมีการเปลี่ยนพฤติกรรมโดยที่เมื่อได้รับเงินที่เป็นแบงค์มาก็จะต้องตรวจดูก่อนทุกครั้งว่าเป็นแบงค์ปลอมหรือไม่ ต่อมาก็มีการนำเสนอวิธีสังเกตแบงค์ปลอม ทำให้สังคมในช่วงนั้นคนส่วนมากศึกษาหาวิธีสังเกตแบงค์ปลอม และสังเกตทุกครั้งก่อนการใช้จ่าย 



               ช่วงที่มีข่าวแบงค์ปลอมระบาดดิฉันคิดว่าเป็นช่วงหนึ่งที่สิ่งพิมพ์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้แบงค์ในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจำนวนมาก เพราะช่วงนั้นที่ดิฉันไปซื้อของที่ร้านค้า แม่ค้าก็จะต้องตรวจแบงค์ก่อนจะทอนเงิน พอหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่างๆ เลิกนำเสนอข่าวนี้ หลังจากนั้นเหตุการณ์การใช้แบงค์จับจ่ายใช้สอยก็เป็นปกติ เหมือนอย่างเคย คือเวลาจับจ่ายใช้สอยก็ไม่มีใครมาสังเกตแบงค์ก่อนอีกต่อไปแล้ว.. .

               เอ๊.. . แต่ว่าลองไปสังเกตแบงค์ในกระเป๋าตังค์ดูดีกว่า อาจจะมีแบงค์ปลอมหลงเหลือมาก็ได้ ฮ่าาา :D








ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.siamrath.co.th
http://www.koratdailynews.com