วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

หนังสือพิมพ์ = อิทธิพลต่อสังคม






               คุณผู้อ่านสังเกตไหมคะว่าในการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั้น เราได้อ่านหรือเห็นสิ่งพิมพ์ในแต่ละวันมากน้อยเพียงใด.. . โดยเฉพาะ "หนังสือพิมพ์"

               ดิฉันเชื่อว่าไม่มีใครไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ ลองย้อนกลับไปคิดดูซิคะว่า ในแต่ละวันไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็สามารถหาอ่านหนังสือพิมพ์ได้อย่างง่ายดาย หาซื้อได้ในราคาไม่แพง บ้างก็มีแจกฟรี เรียกได้ว่าหนังสือพิมพ์อยู่รอบๆ ตัวเราเลยล่ะค่ะ





               หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่ผลิตแบบรายวัน ผู้อ่านสามารถอ่านข่าวได้วันต่อวัน ถือเป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่งที่แผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ ความคิด และความบันเทิงไปสู่ประชาชน ในปัจจุบันหนังสือพิมพ์ก็มีหลากหลายให้ผู้อ่านได้เลือกซื้อ หนังสือพิมพ์ที่ดีมีคุณภาพก็สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้นได้ แต่หนังสือพิมพ์ที่ไร้คุณภาพก็จะฉุดประชาชนและสังคมให้ต่ำลงได้ เพราะหนังสือพิมพ์สามารถที่จะปลุกระดม แทรกซึม โน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิด เจตคติ และพฤติกรรมของประชาชนได้ ถือเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากเลยทีเดียว

               ข่าวในหนังสือพิมพ์ที่ดิฉันคิดว่ามีอิทธิพลต่อสังคม ดิฉันขอยกตัวอย่างข่าวนี้ค่ะ

     รวบ2โจ๋แสบ!พิมพ์แบงค์ปลอมขายย่านบางขุนเทียน

แบงค์ปลอมระบาด! ร้านค้าซวยเพียบ


               ข่าวนี้หนังสือพิมพ์ได้นำเสนอข่าวว่าได้มีธนบัตรปลอมระบาด ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งคนร้ายนำแบงค์ปลอม ซื้อสินค้าในช่วงเวลาเร่งด่วน และมีผู้คนจับจ่ายใช้สอยจำนวนมาก

               ก่อนที่จะมีการนำเสนอข่าวนี้ ประชาชนทั่วไปหรือแม่ค้าโดยปกติแล้วก็ใช้เงินซื้อสินค้า จับจ่ายใช้สอยตามปกติ ไม่ค่อยมีใครมาตรวจดูก่อนว่าเงินนั้นจะเป็นแบงค์ปลอมหรือไม่ แต่เมื่อหนังสือพิมพ์นำเสนอข่าวนี้กันแทบทุกฉบับ ทำให้ประชาชน โดยเฉพาะแม่ค้าตื่นตระหนก เพราะกลัวว่าเงินที่ตนเองได้รับมานั้นจะเป็นแบงค์ปลอม จึงมีการเปลี่ยนพฤติกรรมโดยที่เมื่อได้รับเงินที่เป็นแบงค์มาก็จะต้องตรวจดูก่อนทุกครั้งว่าเป็นแบงค์ปลอมหรือไม่ ต่อมาก็มีการนำเสนอวิธีสังเกตแบงค์ปลอม ทำให้สังคมในช่วงนั้นคนส่วนมากศึกษาหาวิธีสังเกตแบงค์ปลอม และสังเกตทุกครั้งก่อนการใช้จ่าย 



               ช่วงที่มีข่าวแบงค์ปลอมระบาดดิฉันคิดว่าเป็นช่วงหนึ่งที่สิ่งพิมพ์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้แบงค์ในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจำนวนมาก เพราะช่วงนั้นที่ดิฉันไปซื้อของที่ร้านค้า แม่ค้าก็จะต้องตรวจแบงค์ก่อนจะทอนเงิน พอหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่างๆ เลิกนำเสนอข่าวนี้ หลังจากนั้นเหตุการณ์การใช้แบงค์จับจ่ายใช้สอยก็เป็นปกติ เหมือนอย่างเคย คือเวลาจับจ่ายใช้สอยก็ไม่มีใครมาสังเกตแบงค์ก่อนอีกต่อไปแล้ว.. .

               เอ๊.. . แต่ว่าลองไปสังเกตแบงค์ในกระเป๋าตังค์ดูดีกว่า อาจจะมีแบงค์ปลอมหลงเหลือมาก็ได้ ฮ่าาา :D








ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.siamrath.co.th
http://www.koratdailynews.com



วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ธรรมะอินเทรนด์




               ลองคิดเล่นๆ ดูซิคะว่า คนเราจะเลือกหนังสือเล่มหนึ่งมาอ่าน จะเลือกจาก
อะไรน้าาา.. .
               หน้าปก? ผู้เขียน? ชื่อเรื่อง? ความสนใจ? ความดัง? ความชอบ? หรืออะไรต่างๆ นานา
               สำหรับดิฉัน  การจะเลือกหนังสือเล่มนึงมาอ่าน เกิดจากความอยากอ่านในแต่ละครั้ง บางคนงงว่าความอยากอ่านในแต่ละครั้งคืออะไร ดิฉันหมายความว่าตอนนั้นอารมณ์อยากอ่านหนังสือเล่มไหนก็อ่าน เปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ ไม่มีแนวใดแนวหนึ่งที่ชอบเป็นหลัก ฮ่าๆๆ ๆ :))))


               วันนี้ก็เลยมีหนังสือเล่มหนึ่งที่อยากหยิบมานำเสนอให้แก่ผู้อ่าน เป็นหนังสือที่ดิฉันชอบ นั่นก็คือหนังสือ "เณรพยอม จอมยุ่ง" เหตุผลเพราะอะไร ติดตามอ่านกันนะคะ...


"เณรพยอม จอมยุ่ง"



               นำเสนอโดย : พระพยอม กัลยาโณ และ บริษัท วัฏฏะ คลาสสิฟายด์ส จำกัด
               ราคา : 99 บาท

               หนังสือเล่มนี้ดิฉันเห็นหน้าปกก็เกิดความสนใจทันที เพราะหน้าปกเป็นรูปการ์ตูน มีสีสันสดใส ดิฉันคิดว่าข้างในต้องมีภาพการ์ตูนประกอบแน่ๆ พอลองเปิดเข้าไป เป็นภาพการ์ตูนประกอบจริงๆ ค่ะ ยิ่งทำให้ดิฉันอยากอ่านมากยิ่งขึ้น หนังสือเล่มนี้นำเสนอโดยพระพยอม กัลยาโณ ซึ่งดิฉันคิดว่าหลายๆ คนคงรู้จักท่านอยู่แล้ว ก่อนอื่นเรามาดูประวัติคร่าวๆ ของท่านกันก่อนนะคะ 




               พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโณ) นามเดิม พยอม จั่นเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๙๒ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บรรพชาเมื่อ เมษายน ๒๕๐๒ และอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๓ ณ วัดสังวรณ์วิมลไพบูรย์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สำเร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี จนได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 

               พระพยอม เป็นพระนักเทศน์ มีลักษณะการเทศน์เป็นแบบฉบับเฉพาะตน เนื้อหาต่างๆ ที่หยิบยกเอามาเทศน์ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์บ้านเมือง ทั้งจากข่าวจากหนังสือพิมพ์และจากทีวี โดยหยิบข่าวมามองผ่านธรรมะ ใช้ไหวพริบในการพลิกมุมมองให้คนมองเห็นธรรมะจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างได้รส ได้อารมณ์ และความสนุกสนานไปพร้อมๆ กัน

               หนังสือ "เณรพยอม จอมยุ่ง" เล่มนี้เป็นการ์ตูนธรรมะอินเทรนด์ สามารถอ่านได้ทุกเพศทุกวัย มีภาพการ์ตูนประกอบ มีประโยคที่เข้าใจง่าย เด็กๆ ก็สามารถอ่านได้ แทรกธรรมะไว้ในหลายๆ หน้า มีการแนะนำตัวละครก่อน เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่าตัวละครตัวไหนคือใคร เวลาอ่านก็สามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น 



               ธรรมะที่แฝงอยู่ในหนังสือเล่มนี้คือ ความเมตตา
               ความเมตตา คือ ความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ความรักที่เป็นราคะหรือความใคร่
                                          ความปรารถนาดีให้มีความสุข และมีไมตรีจิต
                                          การคิดช่วยเหลือให้ทุกคนในโลกนี้ประสบประโยชน์
                                          และความสุขโดยทั่วกัน


               หนังสือการ์ตูนธรรมะอินเทรนด์เล่มนี้แหละค่ะทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ถึงธรรมะความเมตตาไปด้วยความสนุก ไม่น่าเบื่อ มีภาพการ์ตูนประกอบ อ่านง่าย เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้กับชีวิตประจำวัน และปลูกฝังคุณธรรม จริธรรม ให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดี

               ดิฉันคิดว่าเราควรปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เด็กๆ หนังสือเล่มนี้สามารถเป็นสื่อหนึ่งที่ช่วยในการปลูกฝังการรักการอ่านให้เด็กๆ ได้ เพราะฉะนั้นเรามาช่วยกันส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และสนับสนุนการอ่านหนังสือกันเถอะค่ะ หนังสือแต่ละเล่มนั้นมีคุณค่ามากมาย "ยิ่งอ่านเยอะ ยิ่งรู้เยอะ"







ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.dhammathai.org/sounds/phayom.php

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สื่อการสอน "รู้จักแผนที่"




               "สื่อการสอน" ทุกคนคงได้ยินกันบ้างแล้วใช่ไหมคะ.. . แล้วรู้ไหมคะว่า สื่อการสอนคืออะไร? และมีประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างไรบ้าง?
               วันนี้ดิฉันจะมาพูดถึงเรื่องสื่อการสอน ซึ่งเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาของเราค่ะ


               นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ "สื่อการสอน" ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
               ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
               เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสื่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
               ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


               เป็นยังไงบ้างคะ ได้ทราบคำจำกัดความของสื่อการสอนกันไปคร่าวๆ แล้วใช่ไหมคะ ก็พอจะนึกออกกันแล้วว่า สื่อการสอนนั้นคืออะไร และมีลักษณะเป็นอย่างไร
               วันนี้ดิฉันภูมิใจนำเสนอสื่อการสอนหนึ่งอย่าง สื่อการสอนที่ดิฉันนำมาเสนอในวันนี้ นั่นก็คือ สื่อการสอน ชุด "รู้จักแผนที่"


สื่อการสอน ชุด "รู้จักแผนที่"



               สื่อการสอน ชุด "รู้จักแผนที่" เป็นสื่อการสอนรูปแบบชุดการเรียนการสอน สำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ช่วงชั้นที่ 3 ปีที่ 3) ส่วนรายละเอียดที่เหลือเป็นอย่างไร เรามาชมวิดีทัศน์กันดีกว่าค่ะ




               สื่อการสอน ชุด "รู้จักแผนที่" ช่วยให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ช่วยทำให้เกิดความคิดเป็นแบบรูปธรรม เพราะการฟังอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วย บางทีผู้เรียนก็นึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร การใช้สื่อการสอนเข้าช่วย จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้ ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหว จับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว




               ถ้าท่านใดสนใจสื่อการสอนนี้ หรือสื่อการสอนอื่นๆ สามารถมายืมหรือมาเยี่ยมชมได้ที่ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา ชั้น 8 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร ค่ะ





ขอขอบคุณข้อมูลจาก :



วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตใหม่


               การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นี่มันคืออะไร บางคนฟังแล้วเขาก็ไม่เข้าใจ ไม่รู้มันมาจากไหน และก็ไม่รู้ใครเอามันเข้ามา เย้ยยยยย... ไม่ใช่แล้ว พิมพ์ไปพิมพ์มากลายเป็นเพลงเอาซะงั้น ฮ่าๆ

               พอพูดถึงเรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แล้ว ดิฉันก็จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กันนะคะ :))))
             

               ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทกับเราในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา โลกแห่งการศึกษานั้นได้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จากที่ครูเคยยืนสอน เขียนกระดาน คอยบอกให้นักเรียนจดหรือท่องจำ แต่การสอนแบบนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การศึกษามีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น เพราะสามารถแสดงภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงสร้างสถานการณ์เสมือนจริงได้เหมือนกับหนังสือ หนังสือภาพ เทปเสียง วิดีทัศน์ หรือสื่ออื่นๆ ที่มีทั้งหมด

         
               ภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษายังมีให้เห็นเสมอในวิวัฒนาการแห่งการศึกษา ซึ่งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น การศึกษาได้เป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิต แต่อย่างไรก็ตามในช่วงการขยายตัวของยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร อย่างในปัจจุบันนั้นการเรียนรู้ก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

               ย้อนหลังไปตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ มาจนถึงยุคดิจิตอลในศตวรรษที่ 21 นี้ เป้าหมายอย่างหนึ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติก็คือ การถ่ายทอดความรู้ และการสร้างสังคมให้ดีขึ้น ซึ่งเราก็ได้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ภาคการศึกษากำลังปรับเปลี่ยน กระบวนการพื้นฐานที่สำคัญในประวัติศาสตร์ จากการที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ กำลังก้าวสู่ยุคดิจิตอล และการเข้ามาของระบบอีเลิร์นนิ่งในห้องเรียน ตลอดจนการทำงาน และสนทนาเป็นกลุ่มแบบออนไลน์ 


e-Learning (อีเลิร์นนิ่ง) คืออะไร?

               คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บการเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

             ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้

               สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้ 

               ได้รู้ว่าอีเลิร์นนิ่งคืออะไรกันไปแล้วใช่ไหมคะ คราวนี้มาดูประโยชน์ของเจ้าอีเลิร์นนิ่งกันบ้างดีกว่า



  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
    การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
  • เข้าถึงได้ง่าย
    ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
    เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
  • ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
    ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม


               เห็นไหมคะว่าเจ้าอีเลิร์นนิ่งมีประโยชน์ต่อการศึกษาที่จำเป็นกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขนาดไหน แต่เห็นมีประโยชน์ขนาดนี้ ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่นะคะ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

  • ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสร้างและพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่ง
  • ไม่สามรถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน
  • ไม่สามารถสื่อความรู้สึกและอารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
  • ผู้เรียน และผู้สอนจะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน
  • ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ ต้องมีผู้คอยแนะนำ




               เราก็ได้รู้เกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมและจำเป็นกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กันไปแล้วนะคะ ดิฉันคิดว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญในชีวิตเราในทุกๆ ด้าน สิ่งที่เราต้องเตรียมพร้อมเสมอคือการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง และต้องก้าวตามให้ทันกับเทคโนโลยี ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพราะการศึกษาคือความเจริญงอกงาม ดังเช่นการนำอีเลิร์นนิ่งมาใช้เป็นสื่อในการศึกษาที่ดิฉันกล่าวไว้ข้างต้น อีเลิร์นนิ่งเป็นสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสม และจำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพราะการใช้อีเลิร์นนิ่งในการศึกษา ทำให้ผู้เรียนทุกระดับได้รับความรู้และทักษะ เป็นการพลิกผันจากการที่เรายึดติดกับตำราเล่มเก่า ซึ่งบางเล่มอาจจะเก่าเกินไป ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสมัยนี้จึงได้กลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่จะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มาดูกันว่าศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญอย่างไร

           

            สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านที่น่ารัก วันนี้ดิฉันไม่ได้มาพร้อมอาหารอีสานอร่อยๆ อย่างที่เคยเขียนมานะคะ ขอเปลี่ยนแนว มาเขียนอะไรที่เป็นสาระนิดนึง หวังว่าจะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อคุณผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ 
            
            วันนี้ดิฉันขอพูดถึงเรื่องความสำคัญของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ดิฉันเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะรู้จักศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศกันอยู่แล้ว หรือบางคนอาจจะเคยไปใช้บริการตามศูนย์ต่างๆ ที่มีให้บริการทั่วประเทศ ดิฉันคิดว่าศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อทุกอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ดิฉันจึงจะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น และมาดูกันว่าศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศนี้มีความสำคัญอย่างไร


            ในสังคมปัจจุบันนี้เป็นสังคมที่อยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีการสื่อสารได้ถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพื่อให้ทันและรับกับกระแสโลก และกระแสเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน ได้มีวิทยาการต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย รวมไปถึงเทคโนโลยีที่เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองความต้องการของทั้งผู้สอน และผู้เรียนได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้ศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามีความสำคัญต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ดังนี้
  • เป็นแหล่งสะสมและเผยแพร่ความรู้
  • ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม
  • ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาข้อมูลนอกเหนือจากการสอนในระบบได้
  • การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะในชั้นเรียนเท่านั้น


            ได้ทราบกันไปบ้างแล้วนะคะว่าศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามีความสำคัญอย่างไร ดิฉันขอยกตัวอย่างศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามีความสำคัญต่อสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ดีมา 1 ตัวอย่าง นั่นก็คือ


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์



สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการจัดตั้งขึ้นให้เป็นหน่วยงานตามโครงสร้างการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตามประกาศจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 โดยการรวมสองหน่วยงานเข้าด้วยกันคือ สถาบันวิทยบริการและสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถสรุปการให้บริการได้ ดังนี้

  • เป็นศูนย์สารสนเทศ
  • ให้บริการด้านโสตทัศนวัสดุ อินเทอร์เน็ต หรือสื่อสิ่งพิมพ์
  • ให้บริการข้อมูลพื้นฐานผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ ผู้บริหาร และบุคคลภายนอก
  • บริการระบบเครือข่ายให้สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนด้านการเรียนการสอนและการบริหารงานของมหาวิทยาลัยฯ
  • ดำเนินการจัดหา ผลิตและพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศเพื่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการ
  • พัฒนาและจัดหาระบบงาน ฐานข้อมูลต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ
  • นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาดำเนิน งานเพื่อส่งเสริมระบบการจัดการและเพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร สารนิเทศอย่างสะดวกและรวดเร็ว
  • สนับสนุนและสร้างผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่องานด้านระบบสารสนเทศและการพัฒนาโปรแกรม
  • ผลิตสื่อการศึกษาและพัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลด้วยระบบดาวเทียม


            สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์เป็นศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาที่ดี เพราะมีการให้บริการและผลิตเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาอย่างครบครัน ทันสมัย และเป็นสากล เป็นศูนย์สารสนเทศที่เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นนิสิตนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย หรือประชาชนทั่วไปก็สามารถมาใช้บริการได้ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ มีความพร้อมในการให้บริการชุมชน และสังคม    

            สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์เป็นศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความพร้อมที่จะให้บริการเพื่อการศึกษามากเลยทีเดียวนะคะ หากคุณผู้อ่านมีโอกาส ก็อย่าลืมเข้าไปใช้บริการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์นะคะ รับรองว่าได้ความรู้กลับมาอย่างแน่นอน







ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://arit.rmutr.ac.th/index.php?limitstart=6